วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ใน Macbook รุ่นใหม่ ๆ จะเปลี่ยนภาษา ไทย-อังกฤษ จากปุ่ม Capslock แทนได้ ง่ายดีสะดวก เร็ว เพราะเป็นปุ่มที่เราไม่ค่อยได้ใช้งาน ใน Windows ก็ทำได้ ลองทำดูกันเลย ไม่ยากกกกก 555+



ก่อนอื่นไป Download โปรแกรม AutoHotkey ได้จากที่นี่ 
https://www.autohotkey.com

ติดตั้งเสร็จแล้ว ทำดังนี้

1. คลิกขวา (Right Click) ที่หน้าจอ Desktop เลือก New -> AutoHotkey Script

2. จากข้อแรกจะได้ไฟล์มา 1 ไฟล์ อยู่บนหน้า Desktop ชื่อ New AutoHotkey.ahk -> เปิดไฟล์นี้ด้วยโปรแกรม Notepad หรือ Text Editor ตัวที่ชอบ

3. ใส่ code เหล่านี้ ต่อท้ายในไฟล์ (เว้นบรรทัดได้)

3.1 กรณีที่เดิมใช้ ปุ่ม Win+Space ในการเปลี่ยนภาษา ให้ใส่ code
SetCapsLockState, AlwaysOff
+CapsLock::CapsLock

CapsLock::Send, {lwin  down}{Space down}{lwin  up}{Space up}

return

3.2 กรณีที่เดิมใช้ ปุ่ม Ctrl+Shiftในการเปลี่ยนภาษา ให้ใส่ code
SetCapsLockState, AlwaysOff
+CapsLock::CapsLock

CapsLock::Send, {Ctrl down}{Shift down}{Shift up}{Ctrl up}

return

***ถ้าเป็นรูปแบบอื่นเช่น grave accent (ยึกยือเส้นเดียว) ก็ไปเปลี่ยน key sequence ก่อนในระบบ (วิธีเปลี่ยนลองหาดูไม่ยากขึ้นกับ winodws version)

ทำเสร็จแล้วกด Save ไฟล์ตามปกติ

หมายเหตุ ที่ต้อง SetCapsLockStae, AlwaysOff เพื่อให้ ไฟที่แสดงสถานะ Capslock ไม่ติดสลับไปมา หรือถ้าใครชอบให้ไฟติดสลับไปมาก็เอา สองบรรทัดแรกออกก็ได้ ก็จะดูจากไฟ Capslock ได้ว่าอยู่สถานะภาษาไหน

4. ไปกดดับเบิ้ลคลิก (Double Click) ที่ไฟล์ที่เซฟไปแล้ว ที่ชื่อ New AutoHotkey.ahk ก็จะมีรูปไอคอนสีเขียวมีตัว H อยู่ภายในปรากฏขึ้นมาที่ taskbar (ลองหาดู อาจไปรวมกลุ่มกับ icon อื่น) เป็นอันเสร็จพิธี

5. ทดลองเปิดโปรแกรม Notepad หรือโปรแกรมอื่นขึ้นมา แล้วทดลองเปลี่ยนภาษาดู ถ้าไม่ผิดพลาดจะต้องทำได้จากปุ่ม Caplock เลย (ถ้าบางโปรแกรมทำไม่ได้ เช่น เปิดโปรแกรมค้างไว้ก่อนหน้า ให้ลองปิดโปรแกรมนั้นแล้วเปิดใหม่อีกที)

6. ถ้าอยากให้โปรแกรมรันอัตโนมัติทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอม (เราไม่ต้องไปกดดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ทุกครั้ง) ทำดังนี้

6.1 เลือกไฟล์  New AutoHotkey.ahk แล้วเลือก Copy 

6.2 กดปุ่ม Win + R เพื่อแสดงหน้าต่างคำสั่ง Run -> พิมพ์คำว่า shell:startup เพื่อเปิดหน้าต่างไฟล์ startup ที่ไว้เก็บไฟล์เพื่อให้ windows มาสั่งรันตอนสตาร์ทเครื่อง

6.3 เลือก Paste ไฟล์ในข้อ 6.1 ที่ในหน้าต่างโฟลเดอร์ startup ที่เปิดไว้

6.4 ปิดหน้าต่าง เป็นอันเสร็จพิธี ลอง Restart เครื่องดูก็ได้

***หมายเหตุ ผู้ใช้เครื่องต้องมีสิทธิ์เป็น Admin ถึงจะทำวิธีลัดแบบนี้ได้ ถ้าจำเป็นต้องทำวิธีอื่น ลองหาวิธีใน google ดู

***ถ้าเจอปัญหาใช้ใน Chrome หรือบางโปรแกรมแล้วมีปัญหาให้ กำหนดสิทธิ์โปรแกรม AutoHotkey.exe ให้เป็น Run as Administrator (ลองหาวิธีทำใน Google ดูได้ครับ ไม่ยาก) ทำแล้ว Restart ทดสอบดูครับ


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อยากได้รูป Windows 10 Lock Screen สวย ๆ ทำยังไงดี ???



สำหรับคนที่ใช้ Windows 10 ที่ชอบ ภาพหน้า Lock Screen ตอนเปิดเครื่องขึ้นมา ถ้าอยากได้ ทำตามเว็บนี้ครับ ง่าย ๆ ดังนี้

0. ต้องไปเปิดให้ระบบเห็น Hidden file ก่อน (ถ้าไม่รู้ทำตามเว็บนี้เลย)
https://www.technipages.com/show-hidden-files-windows

1. ปิดหน้าต่าง File Explorer ขึ้นมา แล้ว copy อันนี้ใส่เข้าไปทั้งอันทับของเดิมทั้งหมด

%LocalAppData%\Packages\Microsoft.Windows.ContentDeliveryManager_cw5n1h2txyewy\LocalState\Assets

2. เจอเจอหน้ามีไฟล์ชื่อประหลาดเต็มไปหมด ให้เลือกดูที่ขนาดไฟล์ ...ไฟล์ไหนขนาดใหญ่สุด มักจะเป็นไฟล์นั้นแหละ ให้เลือก copy -> paste (ก็อป แล้วไปวาง) ในโฟลเดอร์อื่น เช่น download หรือ picture

3. Rename ชื่อไฟล์ที่ก็อปมาวาง ให้เป็นอะไรก็ได้ที่มีนามสกุล .jpg แค่นี้ก็จะได้ไฟล์รูปภาพ Lock screen สวย ๆ มาแล้ว จะเอาไป set เป็น desktop wallpaper ก็ได้

ปล. ถ้าระบบเปลี่ยนเป็นรูปใหม่ ก็ทำแบบเดิมครับ เก็บไปทีละรูป



ซื้อ Harddisk / SSD / USB Drive มาใหม่ ทำไมเนื้อที่หายไป ไม่เต็มเท่าที่กล่องบอก ...โดนโกงหรือเปล่า ???



วันนี้อยู่ดี ๆ ก็มีคนมาถามเรื่องความจุ Harddisk หน่วยเป็น GB (Gigabyte) ว่ามันนับยังไง ทำไมซื้อมาแล้ว Windows เห็นไม่เต็ม....เลยส่ง Link นี้ให้ดู
https://en.wikipedia.org/wiki/Gibibyte

อธิบายง่าย ๆ เลยคือ มันนับได้ 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1) 1 GB = (1000)^3 (ยกกำลังสาม) = 1,000,000,000 (พันล้าน) ไบต์ (ตัวอักษร) ถ้วน ๆ กลมๆ

แบบที่ 2) 1 GB = (1024)^3 (ยกกำลังสาม) = 1,073,741,824 (พันล้านกว่า) ไบต์ (ตัวอักษร) มีเศษเกินมาตั้ง 73 MB เศษ

ประเด็นก็คือตัวเก็บข้อมูลที่ขายในตลาดที่เราเรียกๆ กันว่า HDD /SSD เนี่ย ความจุเค้าบอกไว้กลม ๆ เป็น 1 TB / 2 TB เป็นต้น ซึ่งมาตรฐานความจุอุปกรณ์พวกนี้ใช้หน่วย 1 TB = (1000)^4 ถ้วนๆ ไม่มีเศษ ตามแบบที่ 1)

--> ทีนี้พอเราไปเปิดด้วย Windows OS ซึ่งนับหน่วยไม่เหมือนกัน ใน Windows ตัวมันเองจะคิดจากหน่วย (1024)^ค่าใดๆ เช่น (1024)^4 = 1 TB แทน ตามแบบที่ 2) ดังนั้น 1TB ของ Windows > 1TB ของ HDD

พอมันนับหน่วยไม่เหมือนกัน ค่าเนื้อที่ก็ไม่เท่ากัน ทำให้ Windows นับได้ค่าเนื้อที่ (1000)^4 / (1024)^4 = เหลือประมาณ 0.9094 TB (นับได้ขนาดเล็กลง)
...ซึ่งจริง ๆ แล้วเนื้อที่ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่มันนับหน่วยกันคนละแบบ แค่นั้นเอง

มันมีรูปแบบการเรียกให้ต่างกันอยู่คือ
1 GB (1000) ^3
หรือ 1 GiB (1024)^3
ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน

ก็ถ้าไม่คิดอะไรมากก็ไม่ต้องสนใจหรอก ให้เนื้อที่พอใช้งานก็แค่นั้นเอง หรือคิดมากไปก็ไม่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ลง Windows มันก็นับแบบของมันอยู่แล้ว 555+

ปล. รู้ไว้ใช่ว่า...ก็แค่รู้ 555+
จะมีประโยชน์กรณีที่ไปเช่าใช้ Cloud ในการเก็บข้อมูล หรือการประมวลผล ซึ่งเค้าจะบอกว่าคิดแบบไหน ส่วนใหญ่คิดเป็น (1024)^ใด ๆ ตามแบบที่ 2)

Source: (แหล่งที่มา) https://en.wikipedia.org/wiki/Gibibyte



เข้าเน็ต @ AIS Super Wifi หรือ @ TrueWifi ไม่ได้ ...ไม่ขึ้นหน้าให้ Login ทำอย่างไรดี !!!



ใครใช้ Macbook (Mac Notebook with OSX) แล้วต่อ Network พวก @ AIS Super Wifi หรือว่า @ TrueWIFI หรือ Network ของโรงแรมหรือที่ทำงาน ที่ต้องมีหน้าเว็บให้ใส่ข้อมูล Login ก่อน แล้วเข้าไม่ได้ ไม่ขึ้นอะไรเลย นิ่งสนิท... เพราะมันไม่ขึ้นหน้า Login มาให้ ใน browser (เดี๋ยวนี้บางที่ไม่ Pop up แล้ว แต่บางทีก็ยังเด้งขึ้นมาอยู่) ถ้าใช่...เรามีทางออกให้คุณ

ทำดังนี้

0. เลือก Wifi Network ที่ต้องการเชื่อมต่อก่อนเช่น @ AIS Super Wifi หรือว่า @ TrueWIFI รอจนเห็นรูปพัด wifi มีสัญญาณจะกี่ขีดก็ได้แต่ควรไม่ต่ำกว่า 2 ขีด

1. เปิด Finder (รูปหน้าคน) ไปที่ /System/Library/CoreServices/Captive Network Assistant.app

2.  กด Double Click ที่ Captive Network Assistant.app

ถ้าใช้ @ AIS Super Wifi  --> ไม่ต้องเปิด Browser (มันจะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้ใส่ข้อมูลเลย)  --> แต่ถ้าไม่มีอะไรขึ้นมาเลย ให้เปิดหน้า Web Browser เช่น Safari, Chrome, Firefox แล้วพิมพ์ URL นี้ https://wifi.ais.co.th แล้วลองกด go หรือ refresh ว่ามาไหม

ถ้าใช้ @ True Wifi  --> ไม่ต้องเปิด Browser (มันจะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้ใส่ข้อมูลเลย)  ...แต่ก็เปิดไว้เถอะ เดี๋ยวก็ใช้อยู่ดี  --> ส่วนตัวยังไม่เจอเคสที่ต้องใส่ URL เอง
(สำหรับ Wifi อื่นๆ ยังไม่ได้ลอง)

3. ถ้าเผลอปิดหน้าต่าง Pop up หรือหน้าเว็บไป จะทำอย่างไร --> ก็แค่ลองกด turn Wifi OFF แล้วก็ Turn On แล้วก็เลือก เครือข่ายที่ต้องการใหม่ กลับไปยังข้อ 0. แล้ว ไล่ตามเสต็ปใหม่ ง่าย ๆ แค่นี้เอง

ปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขในเร็ววันแน่นอน ถ้าเราต้องใช้งานบ่อย ๆ จะทำอย่างไรให้ง่าย .... ทำดังนี้

1) เปิด Finder เหมือนเดิม ไปที่เดิม /System/Library/CoreServices/Captive Network Assistant.app

2) เลือกที่ไฟล์ Captive Network Assistant.app แล้วกด Click ขวา เลือกเมนู Make Alias แล้วให้ไปสร้างไว้ที่ Desktop ก็ได้ (อารมณ์เดียวกับ Windows ในการสร้าง Desktop Shortcut เหมือนกันเป๊ะ)

3) ถ้าไว้ Desktop ยังใช้งานยาก...​ ก็ลากไปวางไว้ที่ Dock (แถบยาวๆ ที่มีแอปให้เลือกเปิดใช้ได้ง่าย ๆ) เมื่อไหร่ต้องการเรียกใช้ก็ Double Click ได้เลย
ปล. หวังว่าจะช่วยคนที่มีปัญหาได้นะ แต่วิธีนี้ไม่ได้การันตีว่าจะใช้ได้เสมอไปนะครัช 555+



วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562



เนื้อที่หายไปไหน ... วันดีคืนดีเสียบไดรฟ์ยูเอสบี (เก็บข้อมูล) (หรือชื่ออื่นที่นิยมเรียกกันหลากหลาย เช่น Mass Storage Device / Thumb Drive / Flash Drive / ...) ที่ไม่ได้ใช้มานาน ขนาด 16GB เพราะว่ามีหลายอัน เลยนาน ๆ จะได้ใช้ที

เกิดเหตุว่า เสียบคอมปกติ ใน Windows 10 จะก็อปข้อมูลมาใส่ อ้าว... ความจุหายไปไหน ทำไมเหลืออยู่แค่ 935 MB และเหลือที่ว่างแค่ 423 MB เอง ...อย่างแรกที่คิดคือ เอ๊ะหรือว่าโครงสร้างข้อมูลที่เก็บจะเสีย ...​ข้อมูลก็ไม่ได้สำคัญมาก จับ Format ใหม่เลยละกัน ก็กดคลิกขวาที่ Drive แล้วเลือก Format เป็นแบบ FAT32 เสร็จแล้วก็เฮ้ย ความจุก็เท่าเดิม 935MB ...เอ๊ะ หรือจะเสียจริง ๆ

เริ่มสืบสวน หลังจากตั้งสติแป๊บนึง นึกได้ เปิดดูจากโปรแกรม Disk Management (เป็นโปรแกรมที่ติดมากับ Windows ทุกเวอร์ชันครับ มีหน้าที่ไว้บริหารจัดการเกี่ยวกับพื้นที่ของฮาร์ดไดรฟ์และตัวเก็บข้อมูลทุกรูปแบบ สามารถสั่งให้ เพิ่ม ลบ Partition แบ่งไดรฟ์ใหม่ได้ ฟอร์แมตก็ได้) เผื่อจะได้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างละเอียด วิธีเรียกใช้ก็ง่ายนิดเดียว พิมพ์คำว่า "Disk Management" เข้าไปในช่่องค้นหาของ Windows ก็จะเจออยู่ตัวเดียวคือ "Create and format  harddisk partitions" ก็คือตัวเดียวกัน ลองเปิดดูก็จะเห็นหน้าต่างจั่วหัวว่า Disk Management เป็นไงล่ะ ความฉลาดของ Windows 10 555+

สิ่งที่เจอ พอเปิดขึ้นมาสิ่งที่เห็นคือ อ้าว... ทำไมมันมี พื้นที่ Unallocated (คือยังไม่มีการกำหนดให้ใช้งาน) อยู่ตั้งเกือบ 15 GB ...เลยนึกขึ้นได้ว่า เราเคยใช้ไดรฟ์นี้ในการทำ Boot Loader สำหรับระบบอะไรซักอย่าง มันเลยฟอร์แมตให้เป็นแบบนั้น
(แต่ในกรณีอื่น ท่านอาจพบว่ามีหลาย Partition เกิดขึ้นก็ได้นะครับ ผม search เจอใน google ว่าบางทีอาจเกิดจากสาเหตุอื่นเช่นเปิดด้วยบางโปรแกรม บางเครื่องแล้วมันทำให้โครงสร้างไดรฟ์ของเราเปลี่ยนไป อาจไม่ได้พังทั้งหมด  เหมือนตัวอย่างนี้
https://superuser.com/questions/752874/16-gb-usb-flash-drive-capacity-down-to-938-mb)

สิ่งที่ต้องทำ เมื่อผมรู้สาเหตุแล้วก็ง่ายนิดเดียว ก็สั่งลบ Partition ที่มีอยู่ 9xx MB ทิ้งซะ มันก็จะกลายเป็นเนื้อที่ Unallocated ทั้งหมด 16 GB เสร็จแล้วก็เลือก Format หรือสร้าง New Drive ขึ้นมา โดยการคลิกขวาที่บริเวณพื้นที่ก็ได้ แล้วเลือกเมนูดังกล่าว ระบบก็จะถามว่าจะให้ Format แบบไหน ...หลายท่านอาจสงสัยว่า แต่ละ Format มันต่างกันอย่างไร (เอาเป็นว่าผมจะไปกล่าวในบทความถัด ๆ ไปละกันครับ แต่ถ้าไม่มีความรู้ก็ให้เลือก FAT32 ไว้ก่อนสำหรับ ​Windows มักจะใช้ได้เกือบทุกกรณี) เมื่อเลือกเสร็จ ฟอร์แมตเสร็จ ก็เป็นอันใช้งานได้ปกติ (เย้)

ปล.​ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ...แก่แล้วขี้ลืม 555+
จะบอก...สอนให้หาข้อมูลปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข ก็คิดว่าทุกท่านก็ Google กันอยู่ทุกวี่วันอยู่ละ ไม่น่าแปลกใจอะไร อิอิ

หมายเหตุ ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี เมื่อเกิดปัญหากับพวก USB-Drive ที่ใช้เก็บข้อมูลเหล่านี้ ผมแนะนำว่า

1. อย่างแรกเลยคือ หาทาง Backup ข้อมูลไปเก็บไว้ที่อื่นก่อนเพื่อความปลอดภัย แล้วจะทำอะไรก็ตามใจเลยครับ จะได้สบายใจ

2. ถ้าท่านใช้มากกว่า 1 ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) เช่น ใช้ทั้ง Unix, Linux, OSX, Windows ก็อยากให้ลองเอาไปเปิดในระบบปฏิบัติการเหล่านี้ก่อน ท่านอาจแบ่ง Partition หรือใช้ฟอร์แมตของบางระบบปฏิบัติการอยู่ เพราะแต่ละ OS ก็จะมีไฟล์ฟอร์แมตต่างกัน อาจไม่รู้จักข้าม OS (แค่ Windows ก็มีตั้งหลายฟอร์แมตแล้วครับ)

3. เกือบทุกระบบปฏิบัติการจะมีวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างไฟล์ หรือข้อมูลที่เสียหาย ส่วนนี้ต้องลอง google ดูกันครับ แต่ละ OS ทำกันอย่างไร ไม่ยากครับ หาปุ่มกดให้เจอแค่นั้นเอง มันก็จะอยู่กับพวกโปรแกรม Disk Management ใน OS นั้น ๆ ครับ เช่น OSX จะต้องเปิดโปรแกรม Disk Utility แล้วไปเลือกปุ่ม First Aid เพื่อให้ระบบตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างและข้อมูลให้เรา ส่วนจะซ่อมสำเร็จไหมก็อีกเรื่องครับ

4. ถ้าซ่อมโครงสร้างและข้อมูลแล้วก็ยังไม่รอด ในไดรฟ์มีข้อมูลสำคัญมาก ไม่อยู่ในส่วนที่ Backup ไป (หาไม่เจอ) แต่คิดว่าอยู่ในไดรฟ์ จะ ฟอร์แมตทั้งหมดก็ไม่กล้า แนะนำให้หาโปรแกรม Disk Recovery ครับ มีมากมายหลายเจ้า ทั้งฟรีและเสียเงิน
(ผมไม่ได้ใช้นานจนแนะนำไม่ถูกแล้วครับว่าตัวไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร เพราะ Harddisk ปัจจุบันเป็น Solid State มันไม่ค่อยเสีย เพราะไม่มีส่วนที่เป็นกลไกแมคคานิก (พวกหมุน ๆ หรือแม่เหล็ก ที่อาจเกิดเหตุทำให้เสียได้โดยไม่คาดคิด) หรือผมเปลี่ยนเครื่องบ่อยเลยยังไม่เจอ ก็ไม่ทราบ แต่ไม่เจอน่ะดีละครับ ไม่อยากปวดหัว แต่จะว่าไป เจอก็ไม่กลัวเพราะข้อมูลสำคัญผมเอาขึ้น Cloud ไว้หมดแล้ว และ Backup ไว้ใน External Harddisk เป็นระยะ ๆ ซึ่งทุกท่านควรจะทำกันให้เป็นนิสัยนะครับ)

5. ถ้ายังไม่ได้อีกจริง ๆ แล้วข้อมูลสำคัญมากมายก่ายกอง ก็ลองส่งให้เพื่อนที่ฝีมือเซียน ๆ ที่ไว้ใจได้ลองช่วยดู หรือหมดหนทางจริง ๆ แล้วก็ลองส่งให้กับบริษัทที่รับจ้างกู้ข้อมูลครับ ถ้ายังไม่ได้อีก.... ทำใจสถานเดียวเลยครับ



วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

เปรียบเทียบเสปค iPad Air (2019) Vs iPad Pro 10.5" (2017)

Apple ยกเลิกขาย iPad Pro 10.5" แล้ว เพราะมีตัวใหม่คือ iPad Pro 11" ออกมาแทน (แล้วก็แพงขึ้นตามระเบียบ) ส่วน iPad 9.7" ตัวเก่าที่เขียนด้วยดินสอ Apple Pencil ได้ ก็เปลี่ยนเสปคนิดหน่อยมาสิงร่าง iPad Pro 10.5" กลายเป็น iPad Air (2019) อย่างที่เห็น ทำให้ iPad 9.7" กับ iPad Air (2019) เสปคเข้าใกล้กันมากขึ้น รวมถึง Design ด้วย

บทความนี้จะทำการเปรียบเทียบ iPad Air (2019) กับ iPad Pro 10.5" (2017) ที่หายไป ว่าต่างกันอย่างไรบ้าง จะได้เห็นการทำการตลาดของ Apple ที่พยายามเพิ่ม Gap ระหว่าง iPad Air (2019) กับ iPad Pro 11" ให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนใครที่สนใจ iPad Pro 10.5" ก็ยังพอหาซื้อมือสองได้อยู่ครับ ราคาก็พอกันหรือถูกกว่า iPad Air (2019) ของใหม่เล็กน้อย (เทียบรุ่นต่อรุ่น) หรืออาจมีมือหนึ่งขายแบบยังไม่ได้แกะกล่องซึ่งเป็นของค้างสต็อกก็พอหาได้ในราคาที่ไม่แพงนัก (เมืองนอกมีรุ่น Refurbish ออกวางขายราคาถูกลงมาก ผมว่าคุ้มค่ามากถ้าจะซื้อ... ใครไปนอกน่าฝากซื้อครับ เพราะมันประกัน World-wide)  ถามว่าตอนนี้ซื้อเครื่องมือสอง หรือหิ้วจากนอก คุ้มค่าไหม ต้องลองเทียบเสปคดูกันครับ

ถ้าถามผมว่า อะไรที่ต่างกันแล้วเห็นผลชัดที่สุด ผมว่า มี 4 อย่างที่ iPad Pro 10.5" ให้มามากกว่า (ดีกว่า)

1. กล้องหลัง ต่างกันชัดเจนครับ ไม่ว่าจะเป็นความละเอียด หรือเทคโนโลยีที่ iPad Pro 10.5" ให้มามากกว่า  แต่ก็ต้องแลกกับกล้องนูน ๆ ที่บางคนรับไม่ได้ครับ 

2. หน้าจอแสดงผลที่เป็นแบบ Promotion มีความถี่ 120 Hz ถ้าท่านไปลองดู review ใน youtube ท่านจะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า มันดีงามกว่าแบบรู้สึกกันได้ชัดเจนอยู่ ลองเปิดไฟล์ตัวอักษรแล้วเลื่อนขึ้นลงไปมา ก็จะเห็นครับ โดยเฉพาะสายเล่นเกมส์นี่เห็นแน่ ๆ แต่สำหรับการใช้งานทั่วไปอาจไม่มีผลเท่าไหร่

3. ไฟแฟลช ด้านหลังเครื่อง อันนี้สำคัญสำหรับคนชอบพก iPad ติดตัว แล้วใช้แทนกล้องถ่ายรูปเพราะจอใหญ่ดี (ผมเห็นบ่อย ๆ ในหมู่ผู้สูงวัยหน่อย) หรือใช้แทนไฟฉายแบบมือถือ (อันนี้ผมว่าอาจจะลำบากกว่า) ออปชันนี้ผมว่ามีดีกว่าไม่มี บางทีมือถือแบตใกล้หมด แบบตอนไปออกทริป หาที่ชาร์จไม่ได้ ก็อาจได้ใช้ iPad แทน 555+

4. ลำโพง 4 ตัว อันนี้เห็นผลชัดเจนครับ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ได้อรรถรสกว่ากันเยอะ 

ส่วนเรื่องความเร็วในการทำงานผมว่าพอ ๆ กันครับ ต่างกัน 15% ในการ Benchmark ใช้จริงในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมีผลหรอกครับ ส่วน Ram มากน้อยกว่ากัน 1GB ผมว่ามีผลไม่เท่าไหร่ 

ส่วนเรื่องอื่น ๆ ผมว่าสูสีกัน หรือเท่า ๆ กันครับ ไม่ว่าจะน้ำหนัก ระยะเวลาใช้งาน การเชื่อมต่อ ไม่แตกต่าง จะมีต่างอีกอย่างก็เรื่อง ราคา ที่ถูกลง (ก็เล่นตัดฟีเจอร์ออก และใช้ตัวถังเดิม ก็ควรจะต้องถูกลง) 

สรุป Apple ก็ทำการตลาดได้ดีครับ รู้ว่าควรจะแบ่ง Segment ของกลุ่มตลาดอย่างไร จะตัดที่ตรงไหน ถึงจะทำให้มี Gap หรือช่องว่างเพียงพอสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ผมว่า iPad Air (2019) ก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งเลยครับ ผมแนะนำว่า ใครที่ไม่เคยใช้ แล้วอยากใช้ iPad โดยเฉพาะ ดินสอเขียนหน้าจอเนี่ย ซื้อรุ่น iPad Air (2019) ผมว่าน่าจะคุ้ม เพราะได้ลองแล้วถ้าชอบจริงจัง ได้ใช้งาน เป็นประโยชน์ มีงบ ก็ค่อยขายทิ้งไปซื้อตัว iPad Pro 11" ก็ได้ ราคาขายก็ตกไม่มาก เจ็บตัวน้อยสุดในตลาดละ ไม่น่าต้องกังวล แต่เสปคนี้ถ้าพอใจก็ใช้ได้ต่อไปอีกหลายปีครับ หายห่วง ของเค้าพิสูจน์แล้วว่าทนจริงจัง 555+



วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

เปลี่ยน MS Office License ต้องทำอย่างไร (สำหรับ Office 365)



หลายคนอาจใช้ Software ถูกกฎหมาย เช่น MS Office อาจจะใช้ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยเป็นแบบ Education License for Student  หรือบางบ้านก็ซื้อใช้กันทั้งบ้านก็มี แต่เมื่อทำงานแล้วบริษัทมี License ของบริษัทให้ใช้ (อาจด้วยนโยบายบริษัท หรือเหตุผลอื่นที่สามารถใช้ได้) ปัญหาก็จะเกิดว่า แล้วจะเปลี่ยน License ใน MS Office อย่างไร

การได้มาซึ่ง License / Subscription
ต้องขอเล่าก่อนว่า ปกติแล้วเวลาเราซื้อ License Office 365 มาจะมี 2 แบบ หลัก ๆ แบบแรกคือซื้อมาเป็นกล่อง ก็เอาข้อมูลจากกล่องไปใส่ในโปรแกรม ผ่าน Product Key แต่ว่าในที่สุดแล้วระบบจะมีการนำเอาสิทธิ์ไปผูกกับบัญชีของ Microsoft ผ่าน email (ระบบจะมีขั้นตอนให้ทำ) ซึ่งต่อไปจะติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องไหนก็เข้าใช้ได้ด้วยวิธีการ Sign In ผ่าน email account เช่น xxxx@hotmail.com ได้เลย เป็นต้น

ส่วนแบบที่สองเป็น Volume License (หลายบริษัทเป็นแบบนี้) ที่เราจะได้ Account มาเป็น email ส่วนใหญ่ก็จะเป็น email / password ของบริษัทที่เข้าใช้งานปกติ ก็สามารถใช้ในการ Sign In โปรแกรมทีติดตั้งได้เลยเช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้ โปรแกรมเราใครเป็นเจ้าของ (มีิสิทธิ์ใช้งาน)
ปกติแล้วเวลาเราดูจากเมนู About ในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งไม่ว่าจะเป็น MS Word, Excel, Power Point จะเห็นคำว่า Belongs to: xxxxx ซึ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าของ License / Subscription เมื่ออยากจะเปลี่ยน ทำอย่างไรง่ายที่สุด

วันนี้ผมจะมาเล่ากรณีที่เปลี่ยน Belongs to: ในโปรแกรม Office 365 เท่านั้น ไม่นับรวม Version อื่นเช่น MS Office 2016 หรือ 2019 ซึ่งวิธีการอาจต่างกัน ผมยังไม่ได้ลองเลยไม่กล้ายืนยันว่าจะใช้กันได้ (ถ้าอยากจะลองก็ได้ครับ แต่ไม่รับประกันผลที่เกิดขึ้น)

ปกติแล้ว Office 365 จะไปผูกกับ Hotmail Account (ถ้าเป็นบริษัทก็จะเป็น Outlook Account) ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม MS Office บนเครื่อง Mac / PC แล้วมีการ Sing In ระบบจะรู้ทันทีว่าคุณให้สิทธิ์ License ใช้งานกับเครื่องไหนอยู่ แล้วระบบก็จะจำเอาไว้แบบนั้น ถ้ามีสิทธิ์เดียว เช่น Office 365 Personal ก็จะไป Sign In เครื่องอีกไม่ได้อีก แต่ถ้ามีมากกว่า 1 สิทธิ์ เช่น Office 365 Home ซึ่งได้ถึง 5-6 สิทธิ์ ก็สามารถไป Sign In เครื่องอื่นได้จนครบสิทธิ์ที่มี

ดังนั้น เมื่อจะเปลี่ยน Account การใช้งานในเครื่องนั้น ๆ ก็จะต้องไปยกเลิกจากในระบบของ Microsoft ที่บันทึกสิทธิ์เอาไว้ก่อน (ปลดล็อก) ซึ่งจะมีวิธีต่างกันระหว่าง License ปกติกับ Volume License (เดี๋ยวจะบอกวิธีทีละตัว)

การยกเลิกสิทธิ์ใช้งานในระบบของ Microsoft เพื่อปลดล็อกเครื่องคอมให้เปลี่ยนสิทธิ์การใช้งาน MS Office ในเครื่องนั้นได้

เริ่มจากแบบที่เป็น License ปกติ ทำดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บนี้ https://account.microsoft.com/ เสร็จแล้วก็ Login ด้วยบัญชีผู้ใช้ปกติ

2. ไปที่หน้าเมนู Service & subscriptions ก็จะเห็นว่าเราเคยเป็นสมาชิกของ MS Office 365 หรือยังเป็นอยู่ (มาเพื่อเช็คให้มั่นใจเฉย ๆ) โดยจะมีข้อมูลวันหมดอายุการใช้งานให้ดู และจะมีให้เลือก Turn on recurring billing (หรือการต่ออายุอัตโนมัติเมื่อหมดอายุ แล้วระบบก็จะไปตัดเงินกับบัตรเครดิตที่กำหนดไว้) ตรงนี้ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไป Turn on นะครับ ปล่อยไว้อย่างนั้น ส่วนท่านที่เผลอ Turn on ไปแล้ว (อาจอยากได้โปรโมชันเลยกดไปก่อนหน้าก็ลองกด ยกเลิกดูครับ Turn off)

3. ไปที่หน้าเมนู Devices (การเข้าหน้านี้อาจมีการถาม password อีกรอบหนึ่ง) ในหน้านี้ก็จะเห็นว่ามีเครื่องไหนที่ลงโปรแกรม MS Office แล้ว Sign In ด้วย Account นี้อยู่บ้าง โดยแสดงในรูปแบบไอคอนใหญ่ ๆ ให้ท่านเข้าไปในแต่ละเครื่อง แล้วก็กดเลือกเมนู (อยู่ด้านบน) เพื่อทำการ Remove หรือยกเลิก แล้วระบบจะถามยืนยัน ก็กดเลือกยืนยัน แล้วกลับมาหน้าหลักของ Devices ข้อมูลเครื่องนั้นก็จะหายไป ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีในการยกเลิก License (ปลดล็อกได้แล้ว)

กรณีของ Volume License (ส่วนนี้ผมไม่มั่นใจว่าแต่ละบริษัทจะหน้าตาเหมือนกันไหม สมมติว่าเหมือนก่อนละกัน)
1. เข้าไปที่เมนู My Account โดยกดที่รูปไอคอน ชื่อเรา หรือหน้าเรา อยู่มุมบนขวา

2. ในหน้าแรกจะมีบอกเลยว่า Install Status มีเท่าไหร่ ปกติแล้วบริษัทใหญ่หน่อยอาจจะซื้อ License แบบ Office 365 Business ซึ่งท่านมีสิทธิ์ลงได้ 5 อุปกรณ์ ก็จะมีตัวเลขบอกว่า Detect install: x เครื่อง (มันจะนับจากเครื่องที่มีการติดตั้ง MS Office แล้ว Sign In ด้วย Account ของบริษัท)

3. ไปที่หน้า My installs (เมนูซ้ายมือ) ก็จะเห็นว่ามีปุ่มลูกศรชี้ลง ไปกดคลี่ดู ก็จะเห็นว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างที่ Installed อยู่ การยกเลิกง่ายมาก เพียงแก่กดคลิกไปที่คำว่า Deactivate ด้านข้าง ก็เป็นอันยกเลิกการใช้งานบนอุปกรณ์นั้น (ปลดล็อก) เรียบร้อยแล้ว

เมื่อปลอดล็อกข้อมูลในระบบของ Microsoft Online ได้แล้ว ก็มาปลดล็อกที่เครื่อง Mac / PC กันต่อไป (ต้องปลอดล็อคในระบบ Online ก่อนเสมอนะครับ) โดยเครื่อง Mac / PC ของท่านต้องต่อ Internet อยู่นะครับ ถ้าไม่เช่นนั้นระบบก็จะไม่อัปเดท Online (ไม่ Sync กัน) ก็จะทำไม่สำเร็จ อย่าลืมว่า Office 365 เน้นการใช้งาน Online (เชื่อมถึงกันหมด)

วิธีการสำหรับเครื่อง Mac Os X (ผมลองกับ version 14.x แต่ก็คิดว่าเวอร์ชันที่เก่ากว่านี้ก็น่าจะใช้วิธีเดียวกันได้) มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม MS Office ขึ้นมาซักหนึ่งโปรแกรม อะไรก็ได้ สมมติ ผมเปิด MS Word ขึ้นมา แล้วคลิกเมนู Word -> Sign Out (เลือกกดที่คำนี้ครับ) ระบบจะถามเพื่อยืนยัน ก็ทำตามนั้น เมื่อเสร็จแล้วจะไม่เห็นคำนี้อีก
(เมื่อเรา Sign Out ออกจากโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งใน MS Office แล้วโปรแกรมที่เหลือจะ Sign Out ด้วยอัตโนมัติ ผูกกันเป็นแพคเกจ

2. เมื่อมั่นใจว่า Sign Out แล้วก็ดาวน์โหลดโปรแกรม Microsoft License Removal Tool จาก Link นี้ (หรือหาใน Google ได้เลย) จะได้ไฟล์ .pkg มาหนึ่งตัว ก็รันโปรแกรมจนเสร็จตามปกติ
https://support.office.com/en-ie/article/how-to-remove-office-license-files-on-a-mac-b032c0f6-a431-4dad-83a9-6b727c03b193

3. เมื่อรันเสร็จแล้วก็เปิดโปรแกรม MS Office ซักตัวนึง เช่น MS Word ก็ได้ คราวนี้โปรแกรมก็จะถามหาว่าใครเป็นเจ้าของสิทธิ์การใช้งาน ก็เลือกแบบ Sign In เข้าใช้งานโดยใช้ Account ใหม่ที่ได้มา อาจเป็น Account ของบริษัทที่ทำงานก็ได้

4. เมื่อเข้าใช้งานได้ปกติแล้วก็ลองกดเมนู Excel เพื่อดู Belongs to: อีกครั้งว่าเปลี่ยนไปแล้วหรือยัง ถ้าทุกอย่างปกติ ตรงนี้จะเปลี่ยนเป็นข้อมูล Account ใหม่ให้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธี

สำหรับ OS X ผมเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้อง Restart ในกระบวนการทำ หรือถ้าท่านไม่แน่ใจก็ Restart หลังจากทำข้อ 1 หรือข้อ 2 เสร็จก็ได้ครับ

วิธีการสำหรับเครื่อง PC (ผมลองกับ Windows 10 คิดว่า Version อื่นอาจไม่ต่างกันมาก)

1. เปิดโปรแกรม MS Office ขึ้นมาซักหนึ่งโปรแกรม อะไรก็ได้ สมมติ ผมเปิด MS Word ขึ้นมา ระบบจะถามเรื่อง License ทันที (เพราะเราไปยกเลิกในระบบ Online แล้ว) ก็ให้ Sign In ด้วย Account ใหม่แทน

2. ระบบจะขึ้นว่า Office Update ก็กดตกลงไปครับ เพราะมันจะไปเปลี่ยนข้อมูลใน MS Office ทั้งหมดให้เป็น Account ใหม่

3. ปิดโปรแกรม MS Office แล้วลองเปิดใหม่ บางทีมันจะเปิดแล้วเด้งหายไป ไม่ต้องตกใจครับ ก็ลองเปิดใหม่อีกรอบ หรือถ้ายังไม่ได้แล้วมั่นใจว่า. Office Update เรียบร้อยแล้วก็ลอง Restart เครื่องดูครับ (เท่ามาตรฐานมาตั้งแต่อดีตกาลของ Windows) เมื่อเสร็จแล้วก็ลองเปิดโปรแกรมดูใหม่ครับ ต้องเปิดได้ปกติ

4. เปิดโปรแกรม MS Office ขึ้นมาซักตัว เช็ค Belongs to: จากเมนู Account ด้านซ้ายล่าง จะมีข้อความบอกอยู่ด้านขวาบน พร้อมทั้งบอกว่า สิทธิ์นี้สามารถใช้งานโปรแกรมอะไรของ MS Office ได้บ้างเป็นรูปไอคอนเล็ก ๆ เรียง ๆ กันอยู่ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี

ปล. อาจมีคนสงสัยว่าแล้วถ้าเปลี่ยนเป็น Office 365 ต่าง version กันเช่น จาก Home -> Business จะเกิดอะไรขึ้น หรือจาก Business -> Home ใช้วิธีเดียวกันได้ไหม บอกเลยว่าได้ เพียงแต่สิทธิการใช้งานโปรแกรมจะเป็นไปตาม License ที่ใช้ล่าสุด (ปัจจุบัน)

ท่านสามารถ Update MS Office เป็น Version ล่าสุดได้ก่อนที่จะเปลี่ยน License / Subscription เพราะ Office 365 อนุญาติให้ท่านอัปเดทได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแค่กำหนดสิทธิ์ระยะเวลาการใช้งานเท่านั้นเอง

บทความต่อไป จะว่าด้วยเรื่อง License แบบไหนคุ้มกว่ากัน (จริง ๆ ก็มีเว็บอื่นบอกไว้แล้ว แต่ผมจะอธิบายในแบบของผมเองละกันครับ 555+)